บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2019

กระดาษสาทำอะไรได้บ้าง?

รูปภาพ
กระดาษสาทำอะไรได้บ้าง กล่องจากกระดาษสา อัลบั้มรูปจากกระดาษสา ถุงจากกระดาษสา กรอบรูปจากกระดาษสา โมบายจากกระดาษสา การ์ดจากกระดาษสา สมุดจากกระดาษสา กล่องทิชชูจากกระดาษสา ดอกไม้ประดิษฐ์จากกระดาษสา แหล่งอ้างอิง http://www.biogang.net/blog/blog_detail.php?uid=20774&id=789

ขั้นตอนการผลิตกระดาษสา

รูปภาพ
ขั้นตอนการผลิตกระดาษสา การเตรียมวัตถุดิบ ในขั้นตอน การเตรียมวัตถุดิบ ต้องคัดเลือกปอสาที่อ่อนและแก่แยกจากกัน นำไปแช่น้ำประมาณ 3 ชั่วโมงและไม่ควรเกิน 24 ชั่วโมง การแช่น้ำจะทำให้เปลือกปอสาอ่อนตัว จากนั้นนำไปใส่ภาชนะต้ม ใส่โซดาไฟหรือน้ำด่างจากขี้เถ้า เพื่อช่วยให้โครงสร้างของเปลือกปอสาเปื่อยและแยกจากกันเร็วขึ้น ใช้โซดาไฟประมาณ 10-15% อย่าใช้มากไป เพราะอาจไปทำลายเยื่อมากเกินไป ต้มให้ได้นาน 2-3 ชั่วโมง จากนั้นเมื่อต้มเสร็จแล้ว นำปอสาล้างน้ำจนหมดด่าง ปอสาที่ผ่านการแช่น้ำแล้ว การทำเป็นเยื่อ ต่อมาขั้นที่ 2 การทำเป็นเยื่อ มี 2 วิธี ให้เลือก คือทุบด้วยมือ หรือใช้เครื่องตีเยื่อ ถ้าทุบด้วยมือ ใช้ปอสาหนักประมาณ 2 กิโลกรัม ต้องทุบนาน 5 ชั่วโมง แต่ถ้าใช้เครื่องจะใช้เวลาประมาณ 35 นาที จากนั้นนำเยื่อไปฟอกไม่ให้ขาวนัก แต่ถ้าชอบขาวๆต้องใช้ผงฟอกสีเข้าช่วย เยื่อของปอสา การทำเป็นกระดาษ ขั้นตอนที่ 3 คือ การทำเป็นแผ่นกระดาษ นำเยื่อปอสาใส่ในอ่างหรือภาชนะที่เหมาะสม ใส่น้ำระดับพอเหมาะแล้วใช้ไม้พายคนเยื่อในอ่างให้ทั่ว เพื่อให้เยื่อลอยตัวและกระจายออกจากกันสม่ำเสมอ การ

ประวัติกระดาษสา

รูปภาพ
ประวัติกระดาษสา                 ประวัติการดำเนินงานเริ่มจากครอบครัว  ของนายเจริญ   หล้าปินตา  ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน เริ่มทำกระดาษสามานาน  20  กว่าปีแล้ว  โดยนายเจริญ  ได้สืบทอดการทำกระดาษสามาจากคุณทวด   ซึ่งในสมัยก่อนนั้นไม่ได้ทำกันอย่างแพร่หลายเหมือนสมัยนี้  จะทำกันเฉพาะเมื่อต้องการเขียนยันต์  ทำไส้เทีนย  และทำตุงของเชียงใหม่เท่านั้น                                   ตั้งแต่นั้นมาก็ได้มีการพัฒนาการทำกระดาษสาจากที่เคยทำสีขาวก็คิดหาวิธีทำเป็นหลาย ๆ สีและมีลวดลาย  มากยิ่งขึ้น  ซึ่งปรากฎว่าได้รับความสนใจจากคนไทยและต่างประเทศเป็นอย่างมากทำให้ท่านมีกำลังใจที่จะผลิตงานศิลปะกระดาษสามากยิ่งขึ้น   แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ  เช่น  สมุดโน๊ต อัลบั้ม  ถุงกระดาษ  กล่องใส่เครื่องสำอาง  ดอกไม้  ฯลฯ  และยังได้เผยแพร่  กระทำกระดาษสาไปยังหมู่บ้านอื่นสอนวิธีการทำกระดาษสาเพื่อเป็นการอนุรักษ์  ศิลปะของไทยอีกด้วย                               ที่ยึดหลักการประกอบอาชีพในการทำกระดาษสา  สืบทอดจากบรรพบุรุษของบ้านต้นเปา  ซึ่งเป็นแหล่งผลิตกระดาษสาดั่งเดิมของเชียงใหม่  โดยในอดีตการทำกระดาษสานั้นเพื่อนำไ