บทความ

กระดาษสาทำอะไรได้บ้าง?

รูปภาพ
กระดาษสาทำอะไรได้บ้าง กล่องจากกระดาษสา อัลบั้มรูปจากกระดาษสา ถุงจากกระดาษสา กรอบรูปจากกระดาษสา โมบายจากกระดาษสา การ์ดจากกระดาษสา สมุดจากกระดาษสา กล่องทิชชูจากกระดาษสา ดอกไม้ประดิษฐ์จากกระดาษสา แหล่งอ้างอิง http://www.biogang.net/blog/blog_detail.php?uid=20774&id=789

ขั้นตอนการผลิตกระดาษสา

รูปภาพ
ขั้นตอนการผลิตกระดาษสา การเตรียมวัตถุดิบ ในขั้นตอน การเตรียมวัตถุดิบ ต้องคัดเลือกปอสาที่อ่อนและแก่แยกจากกัน นำไปแช่น้ำประมาณ 3 ชั่วโมงและไม่ควรเกิน 24 ชั่วโมง การแช่น้ำจะทำให้เปลือกปอสาอ่อนตัว จากนั้นนำไปใส่ภาชนะต้ม ใส่โซดาไฟหรือน้ำด่างจากขี้เถ้า เพื่อช่วยให้โครงสร้างของเปลือกปอสาเปื่อยและแยกจากกันเร็วขึ้น ใช้โซดาไฟประมาณ 10-15% อย่าใช้มากไป เพราะอาจไปทำลายเยื่อมากเกินไป ต้มให้ได้นาน 2-3 ชั่วโมง จากนั้นเมื่อต้มเสร็จแล้ว นำปอสาล้างน้ำจนหมดด่าง ปอสาที่ผ่านการแช่น้ำแล้ว การทำเป็นเยื่อ ต่อมาขั้นที่ 2 การทำเป็นเยื่อ มี 2 วิธี ให้เลือก คือทุบด้วยมือ หรือใช้เครื่องตีเยื่อ ถ้าทุบด้วยมือ ใช้ปอสาหนักประมาณ 2 กิโลกรัม ต้องทุบนาน 5 ชั่วโมง แต่ถ้าใช้เครื่องจะใช้เวลาประมาณ 35 นาที จากนั้นนำเยื่อไปฟอกไม่ให้ขาวนัก แต่ถ้าชอบขาวๆต้องใช้ผงฟอกสีเข้าช่วย เยื่อของปอสา การทำเป็นกระดาษ ขั้นตอนที่ 3 คือ การทำเป็นแผ่นกระดาษ นำเยื่อปอสาใส่ในอ่างหรือภาชนะที่เหมาะสม ใส่น้ำระดับพอเหมาะแล้วใช้ไม้พายคนเยื่อในอ่างให้ทั่ว เพื่อให้เยื่อลอยตัวและกระจายออกจากกันสม่ำเสมอ การ

ประวัติกระดาษสา

รูปภาพ
ประวัติกระดาษสา                 ประวัติการดำเนินงานเริ่มจากครอบครัว  ของนายเจริญ   หล้าปินตา  ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน เริ่มทำกระดาษสามานาน  20  กว่าปีแล้ว  โดยนายเจริญ  ได้สืบทอดการทำกระดาษสามาจากคุณทวด   ซึ่งในสมัยก่อนนั้นไม่ได้ทำกันอย่างแพร่หลายเหมือนสมัยนี้  จะทำกันเฉพาะเมื่อต้องการเขียนยันต์  ทำไส้เทีนย  และทำตุงของเชียงใหม่เท่านั้น                                   ตั้งแต่นั้นมาก็ได้มีการพัฒนาการทำกระดาษสาจากที่เคยทำสีขาวก็คิดหาวิธีทำเป็นหลาย ๆ สีและมีลวดลาย  มากยิ่งขึ้น  ซึ่งปรากฎว่าได้รับความสนใจจากคนไทยและต่างประเทศเป็นอย่างมากทำให้ท่านมีกำลังใจที่จะผลิตงานศิลปะกระดาษสามากยิ่งขึ้น   แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ  เช่น  สมุดโน๊ต อัลบั้ม  ถุงกระดาษ  กล่องใส่เครื่องสำอาง  ดอกไม้  ฯลฯ  และยังได้เผยแพร่  กระทำกระดาษสาไปยังหมู่บ้านอื่นสอนวิธีการทำกระดาษสาเพื่อเป็นการอนุรักษ์  ศิลปะของไทยอีกด้วย                               ที่ยึดหลักการประกอบอาชีพในการทำกระดาษสา  สืบทอดจากบรรพบุรุษของบ้านต้นเปา  ซึ่งเป็นแหล่งผลิตกระดาษสาดั่งเดิมของเชียงใหม่  โดยในอดีตการทำกระดาษสานั้นเพื่อนำไ

มารู้จักค้นปอสา

รูปภาพ
ต้นปอสา รู้จักต้นปอสา     ต้นปอสา มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Broussonetia papyrifera   เป็นพืชในวงศ์ Moraceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เปลือกต้นสีน้ำตาล ใบเดี่ยว แผ่นใบสากมือเล็กน้อย ดอกแยกเพศแยกต้น ดอกตัวผู้เป็นช่อหางกระรอก ดอกตัวเมียเป็นช่อกระจุกแน่น ผลกลม สีแดงอมส้ม ภายในมีเมล็ดสีแดง ยาง ราก ใบ และเปลือกลำต้น ผู้ที่แพ้เมื่อรับประทานเข้าไปทำให้ท้องร่วง เปลือกลำต้นใช้ทำกระดาษเรียกกระดาษสา  เส้นใยจากเปลือกใช้ทำ ผ้าตาปา ซึ่งใช้ใน ฟิจิ   ตองกา   ซามัว  และตาฮีตี เปลือกและผลใช้เป็นยาใน ปากีสถาน   สารสกัดด้วยเอทานอลจากพืชอบแห้งมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระ ทรงต้น ผลต้นปอสา เปลือกไม้ ช่อดอกตัวผู้ ช่อดอกตัวเมีย ประโยชน์ด้านความงามของปอสา        ปอสา   (Paper Mulberry) มีสาร Kazino-F ที่ มีคุณสมบัติยับยั้ง enzyme Tyrosinase  ทำให้สามารถช่วยลดการสร้างเซลล์เม็ดสี Melanin (เม็ดสีผิวคล้ำ) ซึ่ง สารเหล่านี้จะทำให้ผิวพรรณขาว กระจ่างใส  นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยลดเลือนริ้วรอยแห่งวัยลงได้      ปัจจุบันได้นำเอา  “ส